ข้อความต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่สวนผัก ของคนรักสุขภาพ และผู้สนใจปลูกผักไร้ดิน (Hydroponic system)

27 ส.ค. 2554

ค่า EC ของผัก และ การผสมสารละลาย

ตารางแสดง ค่า EC ของผักแต่ละชนิด และอัตราการผสมสารละลาย 
ชนิดของผัก ค่า EC ปริมาณน้ำ สารละลาย Aสารละลาย B
ผักคะน้า 4.5 10 ลิตร 90 ซีซี90 ซีซี
ผักกวางตุ้ง 3 10 ลิตร 60 ซีซี60 ซีซี
กวางตุ้งฮ่องเต้ 2 10 ลิตร 40 ซีซี40 ซีซี
ผักโขม 1.8 10 ลิตร 36 ซีซี36 ซีซี
ผักสลัด 1.5 10 ลิตร 30 ซีซี30 ซีซี
ผักกาดหอมห่อ 1 10 ลิตร 20 ซีซี20 ซีซี

          เทคนิคการผสมสารละลายให้ได้ค่า EC ตรงตามที่ต้องการ

มีขั้นตอนดังนี้
  1. เตรียมสารละลาย AและB มาไว้ให้พร้อม
  2. นำภาชนะขนาด 10 ลิตรมาใส่น้ำสะอาดไว้ครึ่งหนึ่ง (5 ลิตร) 
  3. นำซลิงค์ ดูดสารละลาย A ตามปริมาณที่ระบุไว้ในตารางด้านบนมาใส่ในน้ำสะอาดที่เตรียมไว้
  4. ใช้ไม้หรือท่อ PVC กวนให้สารสะลายกับน้ำเข้ากันประมาณ 1-2 นาที
  5. นำซลิงค์ ดูดสารละลาย B ตามปริมาณที่ระบุไว้ในตารางด้านบนมาใส่ในน้ำที่ผสมสารละลาย Aแล้ว
  6. ใช้ไม้หรือท่อ PVC กวนให้สารละลายเข้ากัน ประมาณ 1-2 นาที
  7. เติมน้ำสะอาดลงไปให้ครบ 10 ลิตร (น้ำสะอาดรวมกับสารละลาย AB แล้วไม่ควรเกิน 10 ลิตร)
  8. นำขวดหรือภาชนะมาบรรจุน้ำที่ผสมเรียบร้อยแล้วพร้อมเขียนกำกับข้างภาชนะว่าเป็นธาตุอาหารที่มีค่า EC เท่าไหร่ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
หมายเหตุ 
  1. สารละลายที่ผสมแล้วควรเก็บในที่ร่มควรหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง
  2. กรณีที่ค่า EC คลาดเคลื่อนอาจเป็นได้หลายสาเหตุเช่น ปริมาณน้ำมากหรือน้อยเกินไป สารละลายชนิดเข้มข้นอาจมีการตกตะกอน ฯลฯ
  3. สารละลาย A และ B จะผสมกันได้นั้นต้องเป็นในกรณีที่เจือจางแล้วเท่านั้น หากผสมขณะที่เข้มข้นจะทำให้ธาตุอาหารบางตัวตกตะกอนหรือจับตัวกันเป็นเกลือจนพืชไม่สามารถนำสารอาหารไปใช้ได้อย่างครบถ้วน
  4. ควรทำฉลากติดข้างภาชนะที่บรรจุสารละลายที่ทำการผสมไว้แล้วให้ชัดเจน และควรเก็บในที่ปลอดภัยหากไกลมือเด็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น