|
ตั้งโครง ด้วย PVC 6 หุน ส่วนตัวราง ใช้ PVC 3 นิ้ว |
|
หัวรางจุดปล่อยน้ำ ใช้ข้อต้อ 3 นิ้ว |
2 ท่อน ตรงกลาง เป็นท่อ PVC 3 นิ้ว ผ่าครึ่ง ออกแบบไว้เพื่อ ใช้อนุบาลต้นกล้าผัก
|
ปลายท่อ เป็นข้อต่อ ลด จาก 3 นิ้ว เหลือ 1 นิ้ว เป็นจุดถ่ายน้ำกลับ |
ออกแบบ ให้เป็นระบบน้ำล้นในตัว ซึ่งเมื่อน้ำไหลตามรางมาจนเต็มข้อต่อ 3 นิ้ว ก็จะล้นออกมาตามท่อลด 1 นิ้ว มารวมกันเพื่อไหลย้อนกลับลงบ่อกรองน้ำล้นอีกครั้ง
|
ท่อรวมน้ำไหลกลับเป็นท่อ PVC ขนาด 1 นิ้ว |
|
ชุดวาล์วควบคุมการไหลกลับของน้ำไปยังบ่อกรอง ใช้ ข้องอ ขนาด 1 นิ้ว ลดเหลือ 4 หุน |
โดยมี บอลวาล์ว 2 ชุดเพื่อปรับความแรงของการไหลกลับของน้ำทั้ง 2 ชุด
|
ภาพโดยรวมก่อนทดสอบการไหลเวียนของน้ำ |
ทุกจุดของข้อต่อ จะไม่ใช้กาวทาท่อ (เผื่อไว้ก่อน เผื่อรื้อ ) จึงต้องใช้ซิลิโคนทาป้องกันน้ำรั่วทุกจุด
|
ภาพโดยรวมก่อนทดสอบการไหลเวียนของน้ำ(อีกมุม) |
|
บ่อกรอง ชุดน้ำไหลกลับ ใช้ใยแก้วกรองน้ำ |
บ่อกรองเป็นระบบน้ำล้นผ่านท่อ PVC ขนาด 1 นิ้ว น้ำที่จะไหลกลับไปยังบ่อเลี้ยงปลาจะผ่านการกรองโดยใยแก้อีกครั้งหนึ่งก่อน เพื่อกรองเอาเศษต่างๆออกก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยง
|
บ่อกรอง ชุดจ่ายน้ำเข้าระบบ ใช้ใยแก้วกรองน้ำ | |
น้ำจะไหลผ่านท่อ PVC ขนาด 4 หุน โดยผ่านปั้มน้ำขึ้นมายังบ่อกรอง แล้วจะไหลผ่านท่อน้ำล้นขนาด 1 นิ้ว ผ่านการกรองด้วยใยแก้ เพื่อกรองเอาเศษอาหาร ต่างๆออก ไหลมารวมกันที่ท่อ PVC 4 หุน ซึ่งปลายท่อจะเจาะ ใส่ท่อ PE ขนาด 0.5 ซ.ม. เพื่อจ่ายให้กับระบบ แปลงปลูกผักต่อไป
|
ท่อ PE ขนาด 0.5 cm. เป็นตัวจ่ายน้ำให้กับระบบปลูกผักไร้ดิน(DRFT System) |
|
ปั้มน้ำขุมกำลังของระบบ |
|
ทดสอบการไหลเวียนของน้ำในระบบ ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง |
|
ตรงกลางในภาพ ลองนำต้นกล้าผักไทยมาทำการอนุบาล เพื่อไห้รากแข็งแรง (ได้ผลดี ทำให้รากต้นกล้ายาวเร็วและแข็งแรง)
|
หลังจากทดทดลองปล่อยปลาดูแล้ว เริ่มเกิดปัญหา |
ปริมาณของปลาในบ่อน้อยเกินไป ทำให้สารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของผักบนแปลง (ผักมีอาการเหลือง)
เปลี่ยนแนวคิดใหม่ มาเป็นแปลง ที่ใช้เลี้ยงผัก Hudroponics ก่อนที่จะเก็บเกี่ยวซะเลย
ตรงกลางเป็นแปลงอนุบาลต้นกล้าเพื่อให้รากของต้นกล้ายาวและแข็งแรง ก่อนที่จะย้ายไปเลี้้ยงยังแปลงผักระบบ Hydroponic
ภาพโดยรวม ผักที่ได้หวานกรอบอร่อย ปลอดสารพิษ 100 เปอร์เซ็น
เป็นการผสมผสาน ที่ลงตัวมากครับ
ตอบลบจากบทสรุปการปลูกในระบบนี้ ต้องคำนึงถึงปริมาณของมูลปลาเป็นหลักครับ
ตอบลบสำหรับแปลงทดลองชุดนี้ยังไม่สามารถนำไปใช้จริงได้เนื่องจากปริมาณของปลาน้อย ทำให้มีสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของผักทั้งระบบได้
ผมจึงได้ดัดแปลง นำระบบนี้มาใช้ก่อนเก็บเกี่ยวผักโดยการนำผักที่โตเต็มที่มาเลี้ยงไว้บนแปลง นี้ประมาณ 3-5 วันเพื่อให้ผักได้ใช้สารอาหารที่ได้รับมาจากระบบ Hydroponic ให้หมดไป ซึ่งเป็นการกรันตรีความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี
แต่ในส่วนของระบบ Aquaponic ที่ได้ออกแบบไว้นี้ได้มีการปรับลดปริมาณของแปลงผักลงเพื่อให้เหมาะกับ ปริมาณของมูลปลา จะได้ผลอย่างไรจะมา อัปเดทข้อมูลอีกครั้งครับ
เลี้ยงปลาหนาแน่นกว่านี้ ผักก็ยังเหลือง อาหารเหลือง (อาการขาดธาตุอาหารอย่างรุนแรง) เกิดขึ้นกับผักทั้งหมด แต่ผักประมาณ 50% ยังคงสามารถโตต่อไปและอาการขาดธาตุอาหารก็หายไป เมื่อเก็บเกี่ยว พบว่า ผักโตประมาณ 60-70 % ของขนาดปรกติ และสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 30% ของผักที่ปลูก ก็กำลังหาทางต่อ
ตอบลบถ้าใช้น้ำหมุนเวียนจากบ่อดินเลียงปลาจะช้วยได้หรือเปล่าครับ
ตอบลบผมเคยทดลองแล้วครับ ใช้ได้ดีทีเดียวครับ แต่ระวังเรื่องกรองน้ำ อาจจะตันเร็วครับ ส่วนธาตุอาหารครบถ้วนผักเขียวดีกว่าด้วยซ้ำครับ
ลบระบบแค่นี้ทำไม่ได้หรอกครับ เพราะคุณจะเอาน้ำขี้ปลาซึ่งมีแต่แอมโมเนียมาเลี้ยงผักไม่ได้ครับ คุณต้องมีระบบย่อยแอมโมเนียเป็นไนเตรทก่อน ค่อยปล่อยลงสู่แปลงผัก แล้วจึงปล่อยคืนสู่บ่อปลาครับ แอมโมเนียไม่ใช่สารอาหารพืช แต่เป็นสารตั้งต้นครับ
ตอบลบ