ครั้งนี้เราจึงอยากนำเสนอการทดลองปลูกผักไทย ในระบบ DFT ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
อุปกรณ์การทดลอง
- เมล็ดพันธุ์ผักไทย
- ฟองน้ำเพาะเมล็ด
- ถ้วยรองฟองน้ำ
- ถาดเพาะเมล็ด
- ผ้าคลุมถาดเพาะ
- ปั้มออกซิเจนตู้ปลา (ซื้อได้ที่ร้านขายปลาสวยงาม)
- หัวทรายพ่นออกซิเจน + สายยาง (ซื้อได้ที่ร้านขายปลาสวยงาม)
- ถังเก็บสารละลาย (กล่องพลาสติก ขนาดความจุ 55 ลิตร)
- แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด (ตัดให้ใหญ่กว่าปากของกล่องพลาสติกสารละลายเล็กน้อย)
- ถ้วยตวงสารละลาย
1. เพาะเมล็ดพันธุ์ผักตามจำนวนที่ต้องการ ทำตาม ขั้นตอนการเพาะเมล็ด ที่บอกไว้
เริ่มเพาะเมล็ด |
ใช้ผ้าคลุมเพิ่รักษาความชื้นและกระตุ้นอัตราการงอก |
ต้นกล้าผักไทย ที่ผ่านกระบวนการเพาะเมล็ดแล้ว อายุ 11 วัน |
ลักษณะต้นกล้าที่มีความแข็งแรง พร้อมย้ายลงระบบปลูก |
2. เมื่อต้นกล้ามีลักษณะ ความสมบูรณ์แข็งแรง ตามที่บอกไว้ ให้ทำการย้ายปลูก
ต้นกล้าไม่สูงจนเกินไป มี ใบจริง 2 ใบ สังเกตุ เห็นรากได้อย่างชัดเจน |
- เติมน้ำในกล่องพลาสติกที่เตรียมไว้ จำนวน 50 ลิตร
น้ำในกล่องพลาสติกจำนวน 50 ลิตร |
- เตรียมหัวทรายต่อเข้ากับปั้มออกซิเจน จำนวน 2 จุด เพื่อเพิ่มปริมารออกซิเจนในน้ำ
หัวทราย |
การทำงานของออกซิเจนทั้ง 2 จุด |
ภาพขยายการทำงานของหัวทรายเติมอากาศ |
4. ย้ายกล้าผักลงระบบปลูก (ควรย้ายกล้าผักช่วงเย็น เพื่อให้กล้าผักปรับตัวและพักฟืนเวลากลางคืน)
- นำกล้าผักสอดเข้าด้านล่างของถ้วยปลูก
ลักษณะการสอดกล้าผักให้เหลือฟองน้ำโผ่พ้นก้นถ้วยปลูก |
- น้ำถ้วยปลูกไปวางในหลุมปลูกที่เตรียมไว้(แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดเจาะรู เว้นระยะห่าง 10 ซม.) จนครบทุกหลุม
กล้าผักที่ย้ายลงหลุมปลูก อายุ ต้นกล้า 15 วัน |
ทิ้งไว้ข้ามคืนให้ต้นกล้าได้พักฟืนและปรับตัว
- เติมสารละลาย A ตามอัตราส่วน 250 มิลลิลิตร เนื่องจากน้ำในระบบ 50 ลิตร
สารละลาย A 250 มิลลิลิตร. |
ทิ้งระยะเวลา 4 ชั่วโมง
- เติมสารละลาย B 250 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 50 ลิตร
สารละลาย B 250 มิลลิลิตร |
ระบบเติมอากาศ |
อายุผักรวมเพาะเมล็ด 15 วัน ถ่ายวันที่ 26/6/2011 |
อายุผักรวมเพาะเมล็ด 25 วัน ถ่ายวันที่ 6/7/2011 แถวกลางนำกล้าผักสลัดมาอนุบาล |
หลังจากนี้ก็คอยติดตามดูการเจริญเติบโตกันครับ
แล้วจะเก็บรูปมาฝากเรื่อย ๆ จนกว่าจะเก็บผลผลิต
ผักอายุ รวม 30 วันถ่ายวันที่ 11-07-2011 |
สังเกตุ ระยะเวลาจากรูปด้านบนขวามือ เทียบกับด้านล่าง ซ้ายมือ ห่างกัน เพียง 5 วัน เท่านั้น ช่วงนี้ผักจะโตเร็วมาก ให้หมั่นตรวจดูระดับน้ำ ในถังเก็บสารละลายหากยุบมาก ๆ ก็ควรเติมน้ำผสมสารละลาย ตามอัตราส่วน 5 ซีซี ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร
ก่อนเก็บผลผลิตให้ถ่ายสารละลายออกให้หมด แล้วเติมน้ำเปล่าแทน เลี้ยงต่ออีก 3-4 วันก็เก็บผลผลิตได้ (สารสารละลายที่ถ่ายออกสามารถนำไปรดผักที่ปลูกบนดินได้)
ก่อนเก็บผลผลิตให้ถ่ายสารละลายออกให้หมด แล้วเติมน้ำเปล่าแทน เลี้ยงต่ออีก 3-4 วันก็เก็บผลผลิตได้ (สารสารละลายที่ถ่ายออกสามารถนำไปรดผักที่ปลูกบนดินได้)
ผักก่อนเก็บผลผลิต (เลี้ยงน้ำเปล่า มา 4 วัน) |
ระบบรากพืชที่มีความแข็งแรง |
ไดโตเกียวกับพี่พีช เด็ก 4 ขวบ |
ผักกาดขาวไดโตเกียว |
ผักกาดเขียวปลี |
ผักกาดเขียวกวางตุ้ง |
กวางตุ้งฮองเต้ |
ผลผลิตทั้งแปลง |
กลายเป็นอดีตไปแล้ว |
กวางตุ้งฮ่องเต้ผัดน้ำมันหอย |
ปัญหาที่เกิดจากการทดลอง
- เนื่องจาก ปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน ซึ่งมาอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดปัญหาการบังแสงแดดของต้นพืชที่โตช้ากว่า
- ระยะห่างระหว่างหลุมในแปลงปลูกใกล้กันเกินไป ทำให้เกิดการเบียดเสียดของประชากรผัก ผลผลิตที่ได้อาจมีใบและลำต้นไม่ค่อยสวย และเกิดการแตกหักของก้านใบได้ง่าย(แต่ไม่มีปัญหาการแย่งสารอาหารเนื่องจากรากพืชได้รับสารละลายอย่าเต็มที่จากรากอยู่แล้ว)
รูป ผักในช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัด |
ปัญหาใหญ่ที่ทำให้ผักชะงักการเจริญเติบโต อีกปัจจัยหนึ่ง คือ อากาศที่ร้อนจัด ในช่วงเวลาต้งแต่ 11.00 - 13.00 น. ซึ่งเมื่อดูจากรูป แล้ว บางท่านคิดว่าอาการนี้ ไม่น่ารอด แต่หลังจากผ่านช่วงเวลา ประมาณ 16.00 น. เป็นต้นไปผักก็จะเริ่มฟื้นขึ้นมาเรื่อยๆ จนตั้งตัวได้อีกครั้ง ตามรูปด้านล่าง เพราะฉะนั้น สำหรับมือใหม่ที่ปลูกผักไทยและกำลังประสบปัญหานี้อยู่ก็คงจะเบาใจได้บ้างนะครับ แต่ในทางที่ดีควร จะกำบังแสงให้น้องผักหน่อยจะดีกว่ามากๆ เนื่องจากผักจะได้ไม่ชะงักการเจริญเติบโตในช่วงเวลากลางวัน
รูป ผัก หลังผ่าน ช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัดมาได้ ถ่ายเวลาประมาณ 17.00 น. |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น